การสำรองข้อมูลโฮสติ้งแบบ 3 ชั้น
การสำรองป้องกันข้อมูลโฮสติ้งแบบ 3 ชั้น สำหรับการให้บริการเว็บโฮสติ้ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณภาพสินค้าและบริการหลังการขาย เพื่อความพึงพอใจของลูกค้าอย่างดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าผู้ให้บริการโฮสติ้งทุกรายจะต้องตระหนักและดำเนินการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้าไว้วางใจและใช้งานอย่างต่อเนื่อง
แต่มีอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างมากเช่นกันคือ ระบบสำรองข้อมูล กรณีที่เกิดปัญหาที่คาดการณ์ไม่ถึง ทำอย่างไรให้ลูกค้าสามารถใช้งานโฮสติ้งได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดการสะดุดน้อยที่สุด ถ้าผู้ให้บริการรายไหนไม่มีการออกแบบระบบสำรองข้อมูลไว้รองรับแล้วล่ะก็ ฝันร้ายทั้งผู้ให้บริการและลูกค้าที่มีอุปการคุณของท่าน จะเกิดขึ้นไม่วันใด ก็วันหนึ่ง ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับโชคล้วนๆ ก็เป็นได้
PhalconHost ของเราก็ไม่ใช่ไม่เคยเจอ กรณีเกิดปัญหาเรื่องอุปกรณ์พัง แม้ว่าเราจะเลือกใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นเป็นแบบ Enterprise Edition แต่ที่เราผ่านมาได้ทุกครั้ง เพราะเรามีระบบสำรองข้อมูลแบบ 3 ชั้น ไม่ว่าส่วนไหนเกิดการเสียหาย เราจะนำข้อมูลชั้นต่อๆไป นำกลับมาให้ลูกค้าได้ทุกครั้ง ซึ่งการทำระบบสำรองและป้องกันข้อมูลโฮสติ้งแบบ 3 ชั้น มีดังนั้น
ชั้นที่ 1: ป้องกันฮาร์ดดิสพังด้วย Raid Controller
ปกติเครื่องเซิฟเวอร์จะมีฮาร์ดดิสหลายก้อน หากนำมาใช้งานเลย โดยไม่มีการทำระบบ Raid หรือ Redundant จะทำให้เมื่อเกิดฮาร์ดดิสพัง จะทำให้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก้อนนั้น เสียหาไปเลย ซึ่งในระบบเซิฟเวอร์ที่ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จะต้องทำให้เมื่อเกิดอุปกรณ์บางตัวเสียหาย อุปกรณ์ตัวอื่นๆ จะทำงานแทนได้โดยไม่ทำให้ระบบโดยรวมมีผลกระทบ ดังนั้น การทำ Raid เพื่อป้องกันฮาร์ดดิสพังตัวใดตัวหนึ่ง ตัวอื่นๆทำงานแทนได้ โดยไม่ได้รับผลกระทบนี้ จึงเป็นพื้นฐานอย่างแรกที่ผู้ให้บริการควรมีทุกราย เช่น Raid-5 (เสียหายได้ 1 ก้อนโดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบ), Raid-6 (เสียหาได้ 2 ก้อนโดยไม่เกิดผลกระทบ)
* สำหรับ PhalconHost เรามีการทำระบบ Raid-5 และ Raid-10 เพื่อป้องกันอุปกรณ์ฮาร์ดดิส เสียหาย
แล้วถ้าเราทำ Raid-5 แต่เกิดเสียหายไป 2 ก้อนล่ะ จะทำอย่างไร อันนี้ต้องตอบว่า งานเข้าแน่นอน แต่จะแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ได้ ต้องดูว่ามีการสำรองข้อมูลไว้หรือเปล่า
ชั้นที่ 2: ป้องกันระบบโฮสติ้งมีปัญหาเอง และต้องสร้างระบบโฮสติ้งใหม่
เมื่อเกิดเหตุการอุปกรณ์พัง หรือ ระบบโฮสติ้งเองมีปัญหา จะต้องสร้างระบบโฮสติ้งใหม่ขึ้นมารันแทน และต้องมีข้อมูลของลูกค้าเดิม มารันต่อไปด้วย ไม่เช่นนั้นแม้จะสร้างระบบโฮสติ้งใหม่ขึ้นมา แต่ไม่มีข้อมูลเดิมของลูกค้ามารันต่อเนื่อง ก็ไม่ต่างจากข้อมูลลูกค้าสูญหายทั้งหมด สิ่งที่ผู้ให้บริการต้องมีอย่างน้อยคือ การสำรองข้อมูลทั้งระบบโฮสติ้งแบบรายอาทิตย์หรือรายวัน ถ้าสำรองข้อมูลแบบรายอาทิตย์ นั้นหมายความว่า ข้อมูลอาจจะสูญหายไป 1-7 วัน แต่ถ้าสำรองข้อมูลแบบรายวัน ข้อมูลอาจจะสูญหาย 1-24 ชั่วโมง
ดังนั้นลูกค้าทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้ แนะนำว่าให้ท่านสอบถามหรือดูข้อมูลในแน่ชัดว่าผู้ให้บริการที่ท่านจะใช้บริการ มีการสำรองข้อมูลแบบไหน รายอาทิตย์ รายวัน รายเดือน หรือไม่มีเลย
* สำหรับ PhalconHost เราจะมีระบบสำรองข้อมูลแบบรายวัน โชคร้ายที่สุดเมื่ออุปกรณ์เกิดการเสียหาย หรือ ระบบโฮสติ้งพัง ข้อมูลลูกค้าจะย้อนหลังไปไม่เกิน 1-24 ชั่วโมง เท่านั้น
ชั้นที่ 3: ป้องกันกรณีลูกค้าลบไฟล์ผิด หรือเว็บไซด์เกิดปัญหาที่หาสาเหตุไม่ได้
ในกรณีที่ไม่ได้เกิดจากอุปกรณ์เซิฟเวอร์ หรือ ความผิดพลาดจากระบบโฮสติ้งเอง แต่เกิดจากลูกค้าอาจจะไปลบไฟล์ผิดพลาด หรือ เว็บไซด์อยู่ดีๆ ก็เกิดติดไวรัส หรือ ไฟล์บางอย่างหายไปโดยไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร ผู้ให้บริการจะต้องมีการสำรองข้อมูลแบบรายบัญชี (account) ไปเก็บไว้อีกเครื่องเซิฟเวอร์ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ลูกค้าแจ้งให้ restore ข้อมูลกลับมา จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว การสำรองข้อมูลแบบนี้ ปกติจะต้องตั้งค่าสำรองข้อมูลอัตโนมัติทุกๆวัน ในระบบจัดการโฮสติ้ง (DirectAdmin) และที่สำคัญต้องนำข้อมูลที่สำรองไว้นี้ ไปเก็บไว้อีกเครื่องเซิฟเวอร์ ไม่ใช่เก็บไว้ที่เครื่องเดียวกัน ไม่เช่นนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับไม่ได้สำรองข้อมูลนั้นเอง
* สำหรับ PhalconHost เราจะมีระบบ Storage Server แยกต่างหากเพื่อเก็บไฟล์สำรองข้อมูลโดยเฉพาะ และตั้งค่าการสำรองข้อมูลอัตโนมัติทุกๆวันในระบบจัดการโฮสติ้ง (DirectAdmin) ถ้ามีปัญหาเรื่องไฟล์เว็บไซด์หาย เพียงแจ้งให้เรา restore กลับคืนมาได้ทันที ย้อนหลังได้ 7 วัน
สรุป
ลูกค้าท่านไหน จะใช้บริการโฮสติ้งของผู้ให้บริการรายใด ก็ควรพิจารณาเรื่องการสำรองข้อมูลของผู้ให้บริการนั้นๆ ด้วยนะครับ เพราะถ้าเกิดมีปัญหาโดยไม่คาดฝันเกิดขึ้น แล้วไม่มีระบบสำรองข้อมูลที่ดีพอ ความเสียหายนั้นประเมินค่าไม่ได้เลยครับ
แต่ถ้าจะบอกว่ามั่นใจในระบบโฮสติ้งของผู้ให้บริการเจ้านั้นๆ ไม่ล่ม ไม่มีปัญหา 100% เพราะออกแบบระบบมาดีมาก ท่านลองถามคำถามเค้าอีกครั้งว่า เค้ากล้ารับประกันต่อความเสียหายหรือเปล่า ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาจริงๆ แน่นอนผู้ให้บริการรายนั้นไม่รับประกันใดๆ กับท่านแน่นอน
- วิธีการ Reset Password Root ของ CentOS 7 - October 21, 2024
- เตือนภัยมิจฉาชีพ แอบอ้างเป็น Phalconhost !!! - May 7, 2023
- โครงการบ่มเพาะนักพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี (Hero Team) - January 28, 2022
Tags: สำรองข้อมูล, โฮสติ้ง
Trackback from your site.