Dedicated Server, VPS, Hosting ต่างกันอย่างไร


Dedicated Server, VPS, Hosting ต่างกันอย่างไร และควรเลือกแบบไหนดี เป็นประเด็นที่มีความสับสนกันมาก แม้ผู้ที่พัฒนาเว็บไซด์อยู่แล้วก็อาจจะสับสนในตอนแรก โดยคำที่ใช้เรียกกันคือ เครื่องเซิฟเวอร์ (Server) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกแบบกว้างๆ ใช้เรียกแทนได้ทั้ง Dedicated, VPS, Hosting และอาจจะมีอีกคำหนึ่งคือ Colo ซึ่งบ่อยครั้งที่เราอาจจะเรียกชื่อต่างๆ สลับกันไปมา ซึ่งต้องอธิบายกันค่อนข้างนานกว่าจะเข้าใจกัน และแม้จะอธิบายแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่า ควรจะเลือกใช้แบบไหนดี

1. Dedicated Server (เครื่องเซิฟเวอร์) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใหญ่ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Power Supply, Network Interface, CPU, RAM, Harddisk, Raid Controller เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ Notebook ของเราทุกประการ มีบางชิ้นส่วนที่อาจจะเพิ่มเติ่มเข้ามาเล็กน้อย เพื่องานด้านเซิฟเวอร์โดยเฉพาะ เพียงแต่ อุปกรณ์เหล่านี้ เมื่อนำมาใช้กับเครื่องเซิฟเวอร์จะต้องออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อสามารถเปิดทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และรันต่อเนื่อง 365 วันได้ โดยไม่เกิดปัญหา

ดังนั้นอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องเซิฟเวอร์จะต้องเป็นแบบ Enterprise Edition ไม่ใช่ใช้รุ่นทั่วๆไป เช่น RAM ก็ต้องเป็นแบบ ECC, ฮาร์ดดิส ก็ต้องเป็นรุ่น Enterprise Edition, CPU ก็ต้องเป็นรุ่นที่ใช้งานบน Server โดยเฉพาะ เช่น Intel Xeon เป็นต้น

แต่ปัจจุบัน ความจุของเครื่องเซิฟเวอร์นี้ มีขนาดที่ใหญ่มากๆ เช่น RAM 192GB, HDD 10TB, Network สามารถทำให้วิ่งได้ถึง 1Gbps – 10Gbps, CPU 48 Core เป็นต้น เมื่อดูจากความจุและความสามารถของเครื่องเซิฟเวอร์แล้ว คงมีน้อยคนที่จะเอาเครื่องเซิฟเวอร์ขนาด RAM 192GB มารันโปรแกรมทั่วๆไป และด้วยราคาของเครื่องเซิฟเวอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆมีราคาหลายหมื่น ถึงหลายแสนบาท เราจำเป็นที่จะต้องใช้งานเครื่องเซิฟเวอร์ให้คุ้มค่าที่สุด ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

2. VPS (เครื่องเซิฟเวอร์เสมือน) หรือ เราจะมองว่าเป็นเครื่องเซิฟเวอร์หนึ่งตัวก็ได้ มีส่วนประกอบคล้ายๆ Dedicated Server คือ Network Interface, CPU, RAM, Harddisk เป็นต้น แต่จะอยู่ในรูปแบบที่ถูกจำลองขึ้นมา โดยโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการเรื่องเหล่านี้คือ Virtualization Software เช่น ESXi, Xen, KVM เป็นต้น โดยโปรแกรมเหล่านี้จะสามารถแบ่ง RAM, CPU, HDD ที่มีขนาดใหญ่ๆ ออกเป็นขนาดตามที่เราต้องการแก่การใช้งานได้ เช่น ต้องการเครื่องเซิฟเวอร์ ที่มีขนาด RAM 8GB, CPU 4 core, HDD 200GB เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อเรามีเครื่องเซิฟเวอร์ขนาด RAM 192GB ก็สามารถนำมาแบ่งออกเป็นเครื่องเซิฟเวอร์เสมือน (VPS) RAM 8GB ได้ถึง 24 เครื่อง โดย VPS แต่ละเครื่องสามารถติดตั้งโปรแกรม, OS ได้อิสระโดยไม่กระทบกับ VPS ตัวอื่นๆ ทำให้เสมือนว่าเรามีเครื่องเซิฟเวอร์ 24 ตัวเลยทีเดียว

3. Hosting (โฮสติ้ง) โดยปกติจะเป็นการนำ VPS มาติดตั้งโปรแกรมสำหรับทำเว็บไซด์ เช่น Web Server, Database Server, Server Side Script (เช่น php, node.js, python, ruby เป็นต้น), E-mail, FTP, DNS, Cronjob และอื่นๆ โดยมีระบบจัดการโฮสติ้ง (เช่น DeirectAdmin, Plesk, cPanel เป็นต้น)

และเมื่อลูกค้าท่านไหนต้องทำให้เว็บไซด์ออนไลน์ ก็จะต้องมีการเช่าโฮสติ้งเพื่อนำมาเก็บไฟล์เว็บไซด์และฐานข้อมูล และต้องมีการจดโดเมนเพื่อนำมาเชื่อมต่อกับโฮสติ้งอีกทีหนึ่ง ก่อนที่เว็บไซด์จะออนไลน์ได้

Tags: , ,

Trackback from your site.

admin

PhalconHost Team | Line id: @PhalconHost | Tel: 096-520-7008

Leave a comment