inode คืออะไร

inode คืออะไร


inode ในความหมายของ การใช้งานโฮสติ้งคือ จำนวนไฟล์ที่อยู่ในโฮสติ้งนั้นๆ เช่น *.jpg, *.png, *.html, *.php, *.js, *.css เป็นต้น

โดยปกติผู้ให้บริการ (Hosting Provider) จะมีการกำหนด inode ไว้ต่อบัญชี (Account) เช่น 50,000ไฟล์ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าบางรายทำการใส่ไฟล์ในโฮสติ้งนั้นๆ เยอะเกินไป เป็นเหตุทำให้ระบบโฮสติ้งโดยรวมมีปัญหาได้

ยืนยันการจดโดเมนภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกระงับโดเมนชั่วคราว

เมื่อลูกค้าท่านใดที่จดโดเมนกับ PhalconHost เป็นครั้งแรก จะมีอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องทำคือ เมื่อทาง PhalconHost จดโดเมนให้เรียบร้อยแล้ว จะมีอีเมล์อัตโนมัติจาก ResellerClub ส่งไปหาลูกค้า เพื่อให้กด link ในอีเมล์ เพื่อยืนยันตัวตน ว่าอีเมล์ที่ใช้จดโดเมนเป็นของท่านจริง ไม่ใช่อีเมล์ปลอม หรือแอบเอาอีเมล์คนอื่นมาสมัครบริการ

ดังนั้น เมื่อจดโดเมนกับ PhalconHost เป็นครั้งแรก อย่าลืมกด link ในอีเมล์เพื่อยืนยันด้วยนะครับ โดยอีเมล์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “IMPORTANT! Please verify you contact…” ประมาณนี้ครับ (ซึ่งอีเมล์อาจจะตกที่ Junk Mail ก็ได้ ลองหาดูแถวๆนี้ครับ ถ้าไม่เห็นที่ Inbox)

Child Nameserver คืออะไร

Child Nameserver เป็นการตั้งค่าที่นักพัฒนาเว็บไซด์มองข้ามไปมากที่สุด ส่วนมากจะพูดถึงแต่เรื่อง Nameserver เท่านั้น

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ เมื่อเราเช่าโฮสติ้ง ผู้ให้บริการจะแจ้ง nameserver มาให้เรา เช่น ns1.phalconhost.com, ns2.phalconhost.com เป็นต้น และเราก็เอาค่านี้ไปใส่ในช่อง nameserver ของโดเมน ก็ถือว่าเสร็จเรียบร้อย

Nameserver คืออะไร

เมื่อมีการจดโดเมน เราต้องดำเนินการตั้งค่า nameserver ให้ถูกต้อง เพื่อทำให้โดเมนเชื่อมต่อกับโฮสติ้ง ไม่เช่นนั้นเว็บไซด์จะเข้าใช้งานไม่ได้ โดย nameserver จะเป็นตัวที่บอกว่า เมื่อเข้าโดเมนแล้ว จะให้วิ่งไปที่โฮสติ้งที่ไหน เช่น ns1.phalconhost.com ns2.phalconhost.com เป็นต้น

โดเมน (Domain) คืออะไร

โดเมนเนม (Domain Name) หรือเรียกสั้นๆว่า โดเมน อาจจะอธิบายแบบง่ายๆ คือชื่อของเว็บไซด์ต่างๆ เช่น tinicorn.com, tinicorn.co.th เป็นต้น ซึ่งทุกคนเมื่อเข้าเว็บไซด์ต่างๆ ย่อมได้เห็นกันอยู่ประจำอยู่แล้วแต่อาจจะไม่รู้เรียกว่าอะไรเท่านั้น

โดเมนจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

http://blog.example.com/download/price.html

Dedicated Server, VPS, Hosting ต่างกันอย่างไร


Dedicated Server, VPS, Hosting ต่างกันอย่างไร และควรเลือกแบบไหนดี เป็นประเด็นที่มีความสับสนกันมาก แม้ผู้ที่พัฒนาเว็บไซด์อยู่แล้วก็อาจจะสับสนในตอนแรก โดยคำที่ใช้เรียกกันคือ เครื่องเซิฟเวอร์ (Server) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกแบบกว้างๆ ใช้เรียกแทนได้ทั้ง Dedicated, VPS, Hosting และอาจจะมีอีกคำหนึ่งคือ Colo ซึ่งบ่อยครั้งที่เราอาจจะเรียกชื่อต่างๆ สลับกันไปมา ซึ่งต้องอธิบายกันค่อนข้างนานกว่าจะเข้าใจกัน และแม้จะอธิบายแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่า ควรจะเลือกใช้แบบไหนดี

การสำรองข้อมูลโฮสติ้งแบบ 3 ชั้น


การสำรองป้องกันข้อมูลโฮสติ้งแบบ 3 ชั้น สำหรับการให้บริการเว็บโฮสติ้ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณภาพสินค้าและบริการหลังการขาย เพื่อความพึงพอใจของลูกค้าอย่างดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าผู้ให้บริการโฮสติ้งทุกรายจะต้องตระหนักและดำเนินการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้าไว้วางใจและใช้งานอย่างต่อเนื่อง

แต่มีอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างมากเช่นกันคือ ระบบสำรองข้อมูล กรณีที่เกิดปัญหาที่คาดการณ์ไม่ถึง ทำอย่างไรให้ลูกค้าสามารถใช้งานโฮสติ้งได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดการสะดุดน้อยที่สุด ถ้าผู้ให้บริการรายไหนไม่มีการออกแบบระบบสำรองข้อมูลไว้รองรับแล้วล่ะก็ ฝันร้ายทั้งผู้ให้บริการและลูกค้าที่มีอุปการคุณของท่าน จะเกิดขึ้นไม่วันใด ก็วันหนึ่ง ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับโชคล้วนๆ ก็เป็นได้

การเขียนโปรแกรมเป็นทีม ต้องทำอย่างไร


โดยปกติแล้ว ท่านใดที่อยู่ในสายการเขียนโปรแกรม คงรู้ว่าการเขียนโปรแกรมนั้นส่วนมาก มักจะฉายเดี่ยว หรือทำงานคนเดียว หรือแม้แต่ทำงานกันเป็นทีม แต่ก็จะแบ่งหน้าที่กันทำงานเป็นส่วนๆ เช่น คนนี้ทำ Design คนนี้ทำ Programming คนนี้ดูเรื่อง Server คนนี้ดูเรื่องหลังบ้าน อะไรอย่างนี้

LESS คืออะไร ใครยังเขียน CSS อยู่ต้องอัพเดตด่วน


LESS คืออะไร มาแล้วรูปแบบการเขียน CSS แบบใหม่ ที่จะทำให้ชีวิต Frontend ง่ายขึ้นเยอะ หรือคนทำเว็บไซด์อย่างเราๆ ท่านๆนี่เอง

LESS เป็นรูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบหนึ่ง มีรูปแบบการเขียนคล้ายกับ CSS เลยทีเดียว แต่จะมีการประกาศตัวแปร มีฟังก์ชั่น มีการ บวก ลบ คูณ หาร มีการนำกลับมาใช้ใหม่ (reuse) ได้เหมือนเขียน OOP เลย เรียกการเขียนโปรแกรมแบบ LESS อีกอย่างหนึ่งว่า CSS pre-processor

MVC คืออะไร ผมก็ใช้อยู่นะ

ถ้าพูดถึง MVC หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่คนที่ได้ยินหรือเคยได้เขียนโปรแกรมโดยใช้ MVC อาจจะเขียนโปรแกรมไม่อยู่ในรูปแบบ MVC ก็ได้ เพราะอะไรนั้นหรือ อย่างหนึ่งคือ เราจะมีเหตุผลที่ทำให้เราไม่ทำตามรูปแบบ MVC ยังไงล่ะ